วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมวันที่ 22-26 พ.ย. 2553




มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

การเกิดมิวเทชัน
การเกิดการมิวเทชันแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. มิวเทชันที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ (spontaneous mutstion)อาจเกิดขึ้นเนื่องจากรังสี สารเคมี อุณหภูมิในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของ เบส(tautomeric shift)หรือการสูญเสียไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบส(ionization)ทำให้การจับ คู่ของเบสผิดไปจากเดิมมีผลทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสแบบแทรนซิชันหรือทรา สเวอร์ชัน ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไป แต่อัตราการเกิดมิวเทชันชนิดนี้จะต่ำมากเช่น เกิดในอัตรา 10-6 หรือ10-5
2.การมิวเทชันที่เกิดจากการชักนำ(induced mutation)เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดจากมนุษย์ใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์(mutagen)ชักนำให้เกิดขึ้นซึ่งสิ่งก่อกลายพันธุ์มีดังนี้
ที่มา : www.kik5.com/index.php?option=com...



แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีอยู่มากมายหลายชนิดทั้งมีอยู่ในสภาพแวดล้อมทั่วไปโดยไม่ก่อโรคและก่อโรคในคนหรือในสัตว์ ดังนั้นการศึกษาและจำแนกชนิดของแบคทีเรียจึงต้องใช้ความละเอียดในการสังเกตและแยกความแตกต่างของแบคทีเรียทั้งลักษณะภายนอก ที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าเช่น สีขนาดโคโลนี ความโปร่งแสงทึบแสง ความสามารถในการทำให้เม็ดเลือดแดงเกิด Hemolysis ใน blood agar การย้อมสีและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์และการทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี ีในการศึกษาและจำแนกชนิดของเชื้อแบคทีเรียนอกจากจะต้องอาศัยการสังเกตและการทดสอบทุกขั้นตอนยังต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ ของเซลล์แบคทีเรียเพื่อจะได้เข้าใจถึงธรรมชาติของแบคทีเรียและกลไกในการดำรงชีวิตและการก่อโรคได้
ที่มา : www.medtechzone.com/data/bac/bacteria.php








ที่มา : www.seabuckthornthai.com/index.php?lay=show...


1. สาหร่ายในไฟลัมพีโอไฟตา เรียกโดยทั่วไปว่าสาหร่ายสีน้ำตาล (Brown algae) ทั้งนี้เพราะมีรงควัตถุที่ทำให้เกิดสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทีน (Fucoxanthin) อยู่มากกว่าคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี สาหร่ายสีน้ำตาลมีมากในทะเลตามแถบชายฝั่งที่มีอากาศเย็น มีเพียง 35 จีนัสที่พบในน้ำจืด สาหร่ายสีน้ำตาลมักเรียกชื่อทั่วไปว่า sea weed เพราะเป็นวัชพืชทะเล
ที่มา : www.thaigoodview.com/library/.../lopburi/.../sec03po3.html




ห่วงโซ่อาหาร (Food Chain)
หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ จาก ผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากการกินต่อกัน


ตัวอย่าง เช่น


จากแผนภาพ จะสังเกตเห็นว่า การกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในห่วงโซ่อาหารนี้ เริ่มต้นที่ ต้นข้าว ตามด้วยตั๊กแตนมากินใบของต้นข้าว กบมากินตั๊กแตน และ เหยี่ยวมากินกบ ซึ่งจากลำดับขั้นในการกินต่อกันนี้ สามารถอธิบายได้ว่า



ต้นข้าว นับเป็นผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารนี้ เนื่องจากต้นข้าว เป็นพืชซึ่งสามารถสร้างอาหารได้เองโดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง


ตั๊กแตน นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เนื่องจาก ตั๊กแตนเป็นสัตว์ลำดับแรกที่บริโภคข้าวซึ่งเป็นผู้ผลิต


กบ นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 เนื่องจาก กบจับตั๊กแตนกินเป็นอาหาร หลังจากที่ตั๊กแตนกินต้นข้าวไปแล้ว
ตอบ 4
ที่มา : www.thaigoodview.com/node/16425

ก๊าซเรือนกระจกในธรรมชาติ
ก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่ในบรรยากาศโลกตามธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีคุณสมบัติดูดกลืนความร้อน ทำให้โลกอบอุ่น และเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ในโลกได้ แต่กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ โดยเฉพาะหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีการใช้พลังงานฟอสซิล (fossil fuel) เช่น น้ำมัน ถ่านหิน มาก การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกถูกปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก บรรยากาศโลกดูดกลืนความร้อนไว้มากขึ้น เกิดภาวะเรือนกระจก หรือโลกร้อน นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมด้วยพิธีสารมอนทรีออล
สารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น chlorofluorocarbons (CFCs), hydrochlorofluorocarbons (HCFCs), halons, methyl bromide (CH3Br) เป็นต้น ใช้กันแพร่หลายในเครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ สารเหล่านี้นอกจากทำลายชั้นของโอโซน (Ozone Depleting Substances, ODSs) ที่ห่อหุ้มบรรยากาศโลกซึ่งช่วยกรองแสงอัลตราไวเลต (UV) แล้ว ยังมีค่าศักยภาพในการดูดกลืนความร้อน (Global warming potential, GWP) สูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายเท่า เช่น ก๊าซ CFC-12, CFC-114 มีค่า GWP สูงถึง 9,880 และ 10,270 เป็นต้น
ในปัจจุบันสาร CFC เหล่านี้ถูกควบคุมการผลิตโดยพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer) ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างนานาประเทศในการควบคุมการผลิตและการบริโภคสารที่ทำลายชั้นของชั้นโอโซนที่ห่อหุ้มบรรยากาศโลก
ก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ทำลายชั้นโอโซนแต่ดูดกลืนความร้อนสูง
สารบางชนิดที่นำมาใช้ทดแทนสารที่ทำลายชั้นโอโซน (ODSs) มีสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรง คือมีค่า GWP สูงกว่าสาร ODSs มากเช่น Perfluorocarbons (PFCs), Hydrofluorocarbons (HFCs) และ SF6 เป็นต้น ค่า GWP ของก๊าซเหล่านี้แสดงในตารางที่ 2 การรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายหลัง ค.ศ. 1995 ต้องประเมินการปลดปล่อยก๊าซเหล่านี้ด้วย
ศักยภาพในการดูดกลืนความร้อน (global warming potential) ของก๊าซเรือนกระจกชนิดต่าง ๆ
ก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดมีศักยภาพในการดูดกลืนพลังงานความร้อน (Global warming potential หรือ GWP ) ไม่เท่ากัน โดยมีการกำหนดค่าให้ดูดกลืนความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ เช่น ก๊าซมีเทน (CH4 ) และ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O ) มีค่า GWP 21 และ 320 นั่นคือก๊าซก๊าซมีเทน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1 กิโลกรัม ดูดกลืนพลังงานความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 21 และ 320 เท่าตามลำดับ การปลดปล่อยก๊าซมีเทน CH4 และก๊าซไนตรัสออกไซด์ N2O 1 กิโลกรัม จึงเท่ากับการปลดปล่อย CO2 ถึง 21 และ 320 กิโลกรัม เป็นต้น
กิจกรรมที่ทำให้ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มขึ้นแสดงในตารางที่ 1 การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยได้ที่มิใช่มีเทน (Non-Methane Volatile Organic Compounds หรือเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า NMVOC) แต่ปริมาณการปลดปล่อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง การประเมินการปลดปล่อยจึงมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ไอน้ำในบรรยากาศจัดว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกได้เช่นเดียวกัน แต่มิได้นำมาประเมินปริมาณการปลดปล่อยด้วย

ตอบ 2
ที่มา : www.ru.ac.th/climate-change/GHG.htm




อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
- เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
- ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม
สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ
1. ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)
2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)

ตอบ 4

การลำเลียงน้ำของพืช
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างยิ่งพืชที่กำลังเจริญเติบโตมีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 90 ของน้ำหนักทั้งหมดพืชบกขนาดเล็กที่ไม่มีท่อลำเลียงจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีความชื้นสูงและมีร่มเงา ตังนั้นความชุ่มชื้นหรือปริมาณของน้ำจึงเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการจำกัดจำนวนประชากรของพืช ในต้นไม้บางต้นที่มีความสูงมากกว่า 100 เมตร เซลล์ทุกเซลล์ยังสามารถได้รับน้ำและแร่ธาตุต่างๆ จากการดูดซึมของรากที่ลำเลียงผ่านมาตามท่อลำเลียงได้ และปริมาณของน้ำที่ลำเลียงเข้ามาในพืชนี้พืชนำไปใช้เกี่ยวกับกระบวนการเมแทบอลิซึมน้อยมาก น้ำส่วนใหญ่จึงสูบเสียออกทางปากใบสู่บรรยากาศ แล้วพืชก็จะลำเลียงน้ำขึ้นมาทดแทนใหม่อยู่เสมอจึงเป็นที่น่าสงสัยว่า พืชมีกลไกในการลำเลียงน้ำซึ่งมีปริมาณมากๆเช่นนี้ขึ้นมาได้อย่างไร การดูดน้ำของราก

ตอบ 3
ที่มา : www.thaienv.com/content/view/670/40/


สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution) หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis

ในเซลล์พืชจะทำให้โพรโทพลาซึมหดตัวจึงดึงให้เยื่อหุ้มเซลล์ที่แนบชิดกับผนังเซลล์
แยกออกจากผนังเซลล์ มองเห็นเป็นก้อนกลมอยู่กลางเซลล์
ตอบ 2
ที่มา: www.thaigoodview.com/library/.../45/2/.../osmosis2.html



กิจกรรม 20-24 ธันวาคม 2553






กิจกรรม 13 - 17 ธันวาคม 2553




ตอบ 4.O x O
อธิบาย โอ เพราะว่ากรุ๊ปเลือดโอเป็น recessive ค่ะ เมื่อพ่อกับแม่เป็นโอ คือ มีจีโนไทป์เป็น ii

ii X ii = เมื่อ ii คูณ กันยังไงก็ได้ ii อยู่แล้วค่ะ


ตอบ 2. ข และ ค
อธิบาย ศัพท์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรม
แอลลีล (Allele) คือยีนที่ประกอบหรือยีนที่อยู่กันเป็นคู่กันเฉพาะลักษณะหนึ่ง ๆ เป็นยีนที่อยู่บนตำแหน่ง
เดียวกันของโครโมโซมที่เป็นคู่กัน เช่น T เป็นแอลลีล กับ t แต่ไม่เป็น แอลลีลกับ S หรือ s ซึ่งควบคุมลักษณะ
อื่น ลักษณะใดที่ถูกควบคุมด้วยแอลลีลมากกว่า 1 คู่จะเรียกว่า
multiple alleles
Dominant Allele หมายถึงแอลลีลที่แสดงลักษณะให้เห็นได้ทั้งในสภาพที่เป็น homozygote และ heterozygote
Recessive Allele หมายถึงแอลลีลที่จะแสดงลักษณะให้ปรากฏได้ก็ต่อเมื่อเป็น homozygote เท่านั้น
แอนติเจน (antigen) โปรตีนบนผิวเซลล์ที่สามารถทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีที่เฉพาะกับชนิดของตัวเอง
อาจเป็นเชื้อโรคก็ได้
แอนติบอดี (antibody) โมเลกุลโปรตีนที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจจับและทำลายแอนติเจนที่มากระตุ้น
หรือพลัดหลงเข้ามาในกระแสเลือดหรือภูมิคุ้มกัน
ออโตโซม (autosome) โครโมโซมภายในนิวเคลียส ยกเว้นโครโมโซมเพศ แต่ละเซลล์ของมนุษย์
มี 46 โครโมโซม เป็น ออโตโซม 44 แท่ง อีก 2 แท่ง คือโครโมโซมเพศ
เผือก (albino, albinism) สภาวะหรือคนที่ไม่สามารถสร้างสารสีชนิดเมลานินที่ตา ผม ผิวหนัง
ในมนุษย์เกิดจากพันธุกรรมแบบด้อยบนออโตโซม
เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) การใช้เทคนิคที่ได้จากผลงานวิจัยทางชีวภาพมาพัฒนา
ผลผลิตต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต สุขอนามัยและการเกษตร
เบส (base) ทางเคมีหมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับกรดแล้วได้เกลือกับน้ำ แต่ในทางพันธุศาสตร์ี้หมายถึง
สารประกอบไนโตรเจนชนิดพิวรีนหรือไพริมิดีนที่ทำพันธะกันในสายดีเอ็นเอ หรืออาร์เอ็นเอ เบสของดีเอ็นเอ
มี 4 ชนิดได้แก่ อะดีนีน(
A) กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และไทมีน(T) เบสของอาร์เอ็นเอมี 4 ชนิด เช่นกัน
ได้แก่ อะดีนีน(
A) กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และยูราซิล(U) คำนี้ยังมีความหมายอื่นในสาขาคณิตศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
พาหะ (Carrier) คือ ผู้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมปกติ แต่มียีนผิดปกติของลักษณะนั้นแฝงอยู่
ผสมข้าม (cross, crossing) การผสมพันธุ์ระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียที่มาจากต่างต้นหรือ
ต่างดอกกัน การผสมของสัตว์เซลล์สืบพันธุ์ต่างตัวกัน
การโคลน (cloning) กระบวนการผลิตหรือทำซ้ำเพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ หรือต้นใหม่ที่เหมือนต้นแบบเดิม
เซนโตรเมียร์ (centromere) ส่วนของโครโมโซมที่เส้นใยสปินเดิลเข้าเกาะ และเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อ
ระหว่างซิสเตอร์โครมาติด ในช่วงการแบ่งเซลล์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า
primary constriction
โครมาติน (chromatin) ก้อนดีเอ็นเอและโปรตีนที่รวมกันเป็นโครโมโซมภายในนิวเคลียส
โครมาติด (chromatid) แท่งหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งในสองหน่วยของโครโมโซมในระยะแบ่งเซลล์ที่มี
การสังเคราะห์ดีเอ็นเอเพิ่มเป็น 2 เท่า ทำให้ 1 โครโมโซมมี 2 โครมาติด
ซิสเตอร์โครมาติด (sister chromatids) โครมาติดที่เกิดจากการสังเคราะห์ของโครโมโซมแท่งเดียวกัน
Chromosome โครโมโซมคือโมเลกุล ดีออกซีไรโบนิวคลีโอโปรตีน อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในระหว่าง
การแบ่งเซลล์จะมองเห็นเป็นแท่งติดสีเข้ม ในเชิงพันธุศาสตร์โครโมโซมมีหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมไว้ใน
ลักษณะของการเรียงลำดับนิวคลีโอไทด์บนดีเอนเอ
โครโมโซม x (x chromosome) โครโมโซมเพศแท่งยาวในสิ่งมีชีวิตที่เพศเมียมีโครโมโซมเพศเหมือนกัน 2 แท่ง (xx)
วัฎจักรเซลล์ (cell cycle) ระยะต่างๆ ที่พบในการเจริญเติบโตของเซลล์ตั้งแต่อินเตอร์เฟสจนถึงสิ้นสุด
ไมโตซิส
โคลน (clone) เซลล์ เนื้อเยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาจากเซลล์เดียว มีความเหมือนกันทุกอย่าง
ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over) คือ ปรากฏการณ์ที่โครมาติดของโครโมโซมเส้นหนึ่งแลกเปลี่ยน
กับโครมาติดของโครโมโซมอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งเป็นโฮโมโลกัสกัน
เด่น (dominance) ปรากฏการณ์ที่แอลลีลหนึ่งสามารถแสดงฟีโนไทป์ออกมาโดยสามารถข่มหรือบดบัง
การแสดงออกของอีกแอลลีลหนึ่งได้ เมื่อพันธุกรรมหนึ่งนั้นเป็นเฮทเทอโรไซกัสแล้วและมีโอกาสปรากฏในรุ่น
ต่อมาเป็นสัดส่วนมากกว่า เขียนด้วยตัวย่อภาษาอังกฤษตัวใหญ่แทนยีนเด่น เช่น สูง ถนัดมือขวา
ด้อย (recessive) คำที่ใช้เรียกแอลลีลที่ไม่สามารถแสดงลักษณะออกมาเมื่ออยู่ในจีโนไทป์ที่เป็น
เฮทเทอโรไซกัสกับอีกแอลลีลหนึ่ง
ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete dominance) หมายถึงลักษณะที่แสดงออก (phenotype) ที่ gene
เด่นสามารถข่ม
gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์
ข่มไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance) การแสดงออกของพันธุกรรมที่แอลลีลหนึ่งไม่สามารถข่ม
อีกแอลลีลหนึ่งได้
ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant) หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ gene แต่ละยีนที่เป็นแอลลีล (allele) กันมีลักษณะเด่นทั้งคู่ข่มกันไม่ลง จึงแสดงออกมาทั้ง 2 ลักษณะ เช่น กรรมพันธุ์ของหมู่เลือด AB
ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix) รูปแบบการพันเกลียวแบบคู่ขนานกลับหัวท้ายของสายดีเอ็นเอ
ที่ค้นพบโดยวัทสันและคริก
ดิพลอยด์ (diploid) สภาวะของสิ่งมีชีวิตที่แต่ละเซลล์ประกอบด้วยโครโมโซมที่เป็นคู่กัน 2 แท่ง (2 n)
แฮพลอยด์ (haploid) เซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมครึ่งหนึ่งของปกติ
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) โครโมโซมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละแห่งของแต่ละคน
ซึ่งสามารถนำมาวินิจฉัยความเป็นเจ้าของหรือคดีความต่างๆ ได้
วิวัฒนาการ (evolution) กำเนิดของพืชและสัตว์จากบรรพบุรุษที่มีลักษณะโบราณกว่า
เอนไซม์ (enzyme) โปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีในเซลล์
ลูก F1 (first filial generation) ลูกรุ่นที่ 1 ลูกที่เกิดจากการแต่งงานหรือผสมข้ามพันธุ์รุ่นแรกหรือ
ลูกผสม (
hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน
ลูก F2 (second filial generation) ลูกรุ่นที่ 2 ลูกที่เกิดจากการผสมภายในลูกรุ่นที่ 1 (ลูก F1)
หรือรุ่นหลาน
จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง แบบของยีนที่อยู่เป็นคู่ ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่ มีหน้าที่
ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตในร่างกาย การเขียนจีโนไทป์ เขียนได้หลายแบบ เช่น
TT , Tt , tt , T/T , T/t , t/t
ฟีโนไทป์ (phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็น เช่น ลำต้นสูงกับเตี้ย



ยีน (gene) เป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอด
จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ยีน
T, ยีน t , ยีน R , ยีน r
Polygene หรือ Multiple gene หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ ที่มียีน (gene) หลายคู่
(มากกว่า
2 alleles) ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อควบคุม phenotype อย่างเดียวกันจึงทำให้เกิดลักษณะที่มี
ความแปรผันกันแบบต่อเนื่องคือลดหลั่นกันตามปริมาณของยีน เช่น ลักษณะความสูงเตี้ยของคน
จะมีตั้งแต่สูงมาก
สูงปานกลาง เตี้ย
ลิงค์ยีน (linked gene) คือ ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (Sex-linked gene หรือ x - linked gene) เป็นพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีน
ที่อยู่บนโครโมโซม
X แต่ไม่อยู่บนโครโมโซม Y เช่น ยีนที่แสดงสีตาของแมลงหวี่, โรคโลหิตไหลไม่หยุด
จีโนม (genome) ลำดับ จำนวน และชนิดของยีนที่มีในสิ่งมีชีวิตแต่ละตัว
จีเอ็มโอ (GMOs) สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแอลลีลพันธุกรรมบางตัว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เทคนิคการเปลี่ยนหรือดัดแปลงยีน กลุ่มยีน หรือ
หน่วยพันธุกรรมในเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการคัดเลือก คัดออก แทรกใส่ หรือตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้นำมาใช้
ประโยชน์
แกมมีต (gamete) เซลล์สืบพันธุ์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ปกติ มนุษย์มีเซลล์สืบพันธุ์
สองเพศคือเพศผู้คือ
sperm และเพศเมียคือ egg
รหัสพันธุกรรม (genetic code) กลุ่มรหัสที่มีลำดับเบส 4 ตัวในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอแต่ละรหัส
(โคดอน) ประกอบด้วยลำดับเบส 3 ตัวซึ่งจะทำหน้าที่ดึงกรดอะมิโนเฉพาะชนิดเข้ามาต่อกันในการสร้างโปรตีน
พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หรือจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน
ฮีโมฟีเลีย (hemophilia) คือ โรคพันธุกรรม ซึ่งควบคุมโดยยีนเกี่ยวกับเพศ อาการของ โรคนี้ คือ
เลือดจะแข็งตัวช้า
ลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน
homozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนเหมือนกัน ควบคุมลักษณะหนึ่ง เช่น
TT = homozygouse dominant gene (เด่นพันธุ์แท้)
tt = homozygouse recessive gene (ด้อยพันธุ์แท้)
heterozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนแตกต่างกันและควบคุมลักษณะหนึ่ง
เช่น Tt = heterozygouse gene (พันธุ์ทาง = hybrid)
โลคัส (locus) ตำแหน่งที่อยู่ของยีนบนโครโมโซม
Monohybrid cross หมายถึง การผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียงลักษณะเดียว แต่ถ้าเป็นการผสมพันธุ์
โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง
2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า Dihybrid crosses
ออร์แกเนลล์ (organelle) โครงสร้างขนาดเล็กในเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้าน ตัวอย่าง ไมโตคอนเดรีย
อาร์เอ็นเอ (RNA) กรดไรโบนิวคลิอิก สายพอลินิวคลิโอไทด์แตกต่างจากดีเอ็นเอตรงที่เป็นสายเดี่ยว
ของน้ำตาลไรโบสและเบสไพริมิดีนเป็นชนิดยูราซิลแทนที่ไทมีน แบ่งเป็นไรโบโซมมัล อาร์เอ็นเอ (
RNA)
เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ (
m RNA) ทรานส์เฟอร์ อาร์เอ็นเอ (t RNA) และนิวเคลียร์อาร์เอ็นเอ
เซลล์ร่างกาย (somatic cell) เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มิได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์
ผสมตัวเอง (selfing) การผสมของเซลล์สืบพันธุ์ภายในต้นพืชต้นเดียวกัน การผสมหรือปฏิสนธิ
ที่เกิดได้เอง
พงศาวลี,เพดดีกรี (pedegree) แผนภาพแสดงลำดับ ความสัมพันธ์ของบุคคลในตระกูลเดียวกัน
เพื่อดูการถ่ายทอดพันธุกรรมหรือโรคพันธุกรรมบางชนิด
พันธุ์แท้ (pure line = bred true) สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการผสมภายในประชากรเดียวกันมาเป็นเวลานาน
จนมีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัสกัน หรือสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมแบบเดียวกันในประชากร
Locus หมายถึงตำแหน่งของยีนบนโครโมโซม
มิวเตชัน (mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนที่ผิดไปจากเดิม ซึ่งลักษณะนี้ สามารถถ่ายทอด
สืบต่อไปยังรุ่นลูกและรุ่นต่อ ๆ ไป
ไมโตซิส (mitosis) การแบ่งเซลล์ที่ทำให้ได้เซลล์ลูก 2 เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม แบ่งเป็น
ระยะย่อย 4 ระยะคือ โพรเฟส เมตตาเฟส แอนนาเฟส และเทลโลเฟส ตามด้วยไซโตไคเนซิส
ไมโอซิส (meiosis) การแบ่งเซลล์แบบที่มีการลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง พบในกระบวนการ
สร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้และเพศเมียในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง หลังจากแบ่งเสร็จแล้วจะได้เซลล์สืบพันธุ์ 4 เซลล์
เพศเมียจะมีเพียงเซลล์เดียวที่พัฒนาไปเป็นไข่ อีก 3 เซลล์จะฝ่อไป
นิวเคลียส (nucleus) 1. ทางเคมีหมายถึงแกนกลางของอะตอมที่ประกอบด้วยโปรตรอนและนิวตรอน
2. ทางชีววิทยาหมายถึง ใจกลางของเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบภายใน เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม
สปีชีส์ (species) ประชากรภายใต้กลุ่มเดียวกันที่สามารถผสมพันธุ์กัน และมีลูกสืบทอดสายพันธุ์ได้
โดยไม่เป็นหมัน
เส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) เส้นใยไฟเบอร์ที่สร้างจากการเรียงต่อกันของไมโครทิวบูล
พบในช่วงการแบ่งเซลล์ ทำหน้าที่ดึงโครมาติดให้แยกจากกัน ไปเป็นโครโมโซมอิสระในเซลล์ลูก
ไตรโซมี (trisomy) สภาวะของเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง
ทำให้โครโมโซมที่เกินมานั้นมี 3 แท่ง
กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) มี 2 ชนิด คือ
1. DNA – ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรม 2. RNA - ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน
ส่วนประกอบของ DNA กลุ่มฟอสเฟต น้ำตาลดีออกซีไรโบส เบสไซโตซีน เบสอะดีนีน เบสกวานีน เบสไทมีน
ไซโกต (zygote) เซลล์ที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเพื่อไปเป็นชีวิตใหม่

พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง
พืชดัดแปลงพันธุกรรมกับความปลอดภัย
การพิจารณาว่าจี เอ็ม โอ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ/หรือ สิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องผ่านการทดลองหลายด้านเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีบทบาท ในสิ่งแวดล้อมต่างๆกันไป และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำเอาจี เอ็ม โอ หรือผลผลิตจากจี เอ็ม โอแต่ละชนิดออกสู่ผู้บริโภคนั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตพันฑ์จี เอ็ม โอ ทุกชนิด ทั้งที่นำมาเป็นอาหาร หรือที่นำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในทางพาณิชย์มีความปลอดภัยแล้ว บางคนคิดว่าจีเอ็มโอคือสารปนเปื้อนที่มีอันตราย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะจี เอ็ม โอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จี เอ็ม โอนั้นคือ “สิ่งไม่มีชีวิต” ที่เป็นผลพวงจากการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติตามอย่างที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะการสุกงอมที่ช้าลงกว่าปรกติ การดัดแปลงพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงซึ่งให้ประโยชน์ต่อมนุษย์สูง เป็นต้น ดังนั้นการใช้คำว่า “ปนเปื้อน” ในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ”ปนเปื้อน” มีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่นไม่ต้องการให้อาหารมีการปนเปิ้อนของสารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหารเป็นต้น ดังนั้น จีเอ็มโอไม่ใช่สารปนเปื้อนแน่นอน

ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม

วอลนัท

หลังจากที่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้ว จึงทำให้เม็ดวอลนัทนั้นมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นคือ
  1. ทนทานต่อโรค

สตรอเบอรี่

การตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) ส่งผลให้สตรอเบอรี่
  1. เน่าช้าลง ทำให้สะดวกต่อการขนส่ง
  2. เพิ่มสารอาหาร

แอปเปิล

ผลของการตัดต่อทางพันธุกรรมที่มีต่อแอปเปิลคือ
  1. ทำให้ความสดและความกรอบของผลแอปเปิลมีระยะเวลานานขึ้น (delay ripening)
  2. ทนต่อแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืช

มะเขือเทศ

ลักษณะที่ดีขึ้นของมะเขือเทศ หลังจากที่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีดังนี้
  1. ทนทานต่อโรคมากขึ้น
  2. เพิ่มความแข็งของเนื้อมะเขือเทศมากขึ้น ทำให้ลดปัญหาผลผลิตเสียหายขณะขนส่ง
  3. ผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวจะเกิดการเน่าเสียช้าลง

ข้าวโพด

ข้าวโพดนับว่าเป็นพืชทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เรานำมาทำการตัดต่อทางพันธุกรรม โดยการตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensis เข้าไปในยีนของเมล็ดข้าวโพด จึงทำให้ข้าวโพดที่ได้ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถสร้างสารพิษต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้ โดยเมื่อแมลงมากัดกินข้าวโพดนี้แมลงก็จะตาย [[

มันฝรั่ง

มันฝรั่ง (Potato) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับข้าวโพด โดยใช้การตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensi ==]] s เข้าไปในยีนของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่งที่ได้รับการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มขึ้น (เพิ่มปริมาณโปรตีน) และในบางชนิดยังสามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์อีกด้วย

ถั่วเหลือง

มีการดัดแปลงพันธุกรรมถั่วเหลืองเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถทนต่อสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิด Roundup ได้ดีกว่าถั่วเหลืองทั่วไป ทำให้ผู้ปลูกสามารถใช้สาเครมีชนิด Roundup ได้มากขึ้น มีผลทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นตามไปด้วย

ฝ้าย

เป็นฝ้ายที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมโดยใส่ยีนของแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) เข้าไปในโครโมโซมของต้นฝ้าย ทำให้สามารถผลิตโปรตีน Cry 1A ซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูฝ้ายได้

มะละกอ

มีการตัดต่อพันธุกรรมมะละกอ เพื่อให้สามารถต้านทานโรคห่าได้ และมีเมล็ดมากขึ้น

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

ตอบ 2. X X
อธิบาย คนที่ตาบอดสีจะมองเห็นสีผิดไปจากคนปกติ เช่น คนที่ตาบอดสีแดงและสีเขียว จะมีปัญหาในการแยกสีทั้งสอง

ลักษณะตาบอดสี เป็นลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนด้อย กำหนดให้ c แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาบอดสี และ C แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาปกติยีนคู่นี้อยู่บนโครโมโซม X ดังนั้นสัญลักษณ์แทนยีนจึงเขียนเป็น Xc และ XC สำหรับจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลักษณะตาบอดสี


ตอบ 1. มี ได้ มี
อธิบาย หลายท่านอาจยังไม่คุ้นหูกับคำว่า "ไบรโอไฟต์" แต่หากบอกว่า "มอสส์" บางท่านอาจจะพอนึกภาพออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มอสส์จัดเป็นสมาชิกกลุ่มหนึ่งของไบรโอไฟต์เท่านั้น ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับไบรโอไฟต์กันให้มากยิ่งขึ้นกันดีกว่า



 ไบรโอไฟต์มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง
ไบรโอไฟต์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต ไบรโอไฟต์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของป่าในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพืชบุกเบิกในธรรมชาติ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าที่รกร้างและแห้งแล้ง ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ที่สำคัญเซลล์ของไบรโอไฟต์ มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับน้ำได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว สามารถดูดซับได้ถึง 200-500% ของน้ำหนักแห้ง พืชกลุ่มนี้จึงเปรียบเหมือนฟองน้ำของป่าที่ช่วยดูดซับน้ำให้กับผืนป่า ไบรโอไฟต์จึงนับว่าเป็นพืชตัวน้อยที่นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าเป็นอย่างมากกลุ่มหนึ่ง
ปัจจุบันมีการนำไบรโอไฟต์มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น นำมาจัดตู้ปลา จัดสวน หรือแม้แต่นำมาเป็นวัสดุช่วยปลูกกล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าวิจัยในการสกัดสารเคมีจากไบรโอไฟต์บางชนิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น มอสส์สกุลข้าวตอกฤาษี (Sphagnum) สามารถรักษาอาการตกเลือดอย่างเฉียบพลัน และโรคที่เกี่ยวกับตา (Pant, 1998) สำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศที่มีการปลูกไบรโอไฟต์เป็นสินค้าส่งออกสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรมีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีตลอดไปด้วย




ตอบ 1. H5 N1
อธิบาย
ไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีนเมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวมทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย
ไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีก แตกต่างที่ส่วนประกอบที่ผิวของไวรัส คือ ฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสเป็นคนละชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน ฮีแมกกลูตินินจะเป็น H1 หรือ H2 หรือ H3 แต่ของนกมีตั้งแต่ H1 ถึง H15 ส่วนนิวรามินิเดสของคนมีแต่ชนิด N1 และ N2 ส่วนของนกมีตั้งแต่ N1-N9 เชื้อไข้หวัดใหญ่ของคนที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Influenza A ชนิด H1N1, H1N2, H3N2 และ Influenza B ส่วนเชื้อที่มาจากนกและสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยคือ Influenza A H5N1
สำหรับหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากมีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนด